您现在的位置是:DailyThai > ครอบคลุม
【all day 24】หยุดพฤติกรรมเสี่ยง 'หูเสื่อม' ก่อนวัย | เดลินิวส์
DailyThai2024-12-24 02:05:34【ครอบคลุม】9人已围观
简介ยุคปัจจุบันนี้ เรามักเห็นภาพหลายๆ คนสวมใส่หูฟังหลากรูปแบบ เพื่อฟังเพลงหรือเสียงจากสื่อโซเชียลต่างๆ ผ all day 24
ยุคปัจจุบันนี้ เรามักเห็นภาพหลายๆ คนสวมใส่หูฟังหลากรูปแบบ เพื่อฟังเพลงหรือเสียงจากสื่อโซเชียลต่างๆ ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ บางคนเปิดฟังเสียงดังจนคนนั่งข้างๆ ยังได้ยินเสียงไปด้วย ทั้งนี้ การที่หูของเราได้รับฟังเสียงดังมากเกินไปและสะสมเป็นเวลานาน มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะประสาทหูเสื่อม การได้ยินผิดเพี้ยนไป
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์“คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล” มีคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลสุขภาพหู ว่าเป็นเรื่องที่เราควรหันมาให้ความสำคัญ และปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมเพื่อช่วยรักษาสุขภาพหู
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์สำหรับโรคเส้นประสาทหูเสื่อมซึ่งทำให้การได้ยินของเราถดถอยลง มีทั้งอาการเสื่อมตามวัย และเสื่อมตามพฤติกรรมหรือสิ่งแวดล้อมในชีวิตประจำวัน อาการเสื่อมตามวัยมักเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยหูจะได้ยินลดลงทีละน้อย รวมถึงมีเสียงวี้ดในหู เสียงที่ได้ยินมักเป็นเสียงที่มีความถี่สูง
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์โดยปกติเสียงที่ควรได้ยินไม่ควรดังเกิน 80 เดซิเบล และนานต่อเนื่องเกิน 8 ชั่วโมงต่อวัน ขณะเดียวกัน คนที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเสียงดัง มีความเสี่ยงสูงต่อการป่วยเป็นโรคเส้นประสาทหูเสื่อม ซึ่งจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป เหมือนคนที่เกิดอาการตามวัย แม้โรงงานจะมีอุปกรณ์ครอบหูให้พนักงานใช้ แต่ปัญหาคือพนักงานไม่ค่อยชอบใช้อุปกรณ์นี้ เพราะไม่รู้สึกว่าตัวเองได้รับผลกระทบในตอนต้น แต่ความจริงแล้ว การกระทำแบบนี้จะส่งผลในภายหลัง โดยเสียงที่ดังในโรงงานจะค่อยๆ ทำลายเส้นประสาทหูลงไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเสื่อมและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตในที่สุด
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์แต่มีบางกรณีเป็นอาการสูญเสียการรับฟังแบบเฉียบพลัน โดยอาจเกิดจากการได้ยินเสียงที่ดังมากๆ อาทิ ระเบิด เป็นเสียงดังทีเดียว ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนที่รุนแรง ส่งผลให้เซลล์เส้นประสาทถูกทำลายได้ เกิดอาการหูดับ สูญเสียการได้ยินในทันที คนไข้จะได้ยินเสียงวี้ด แล้วไม่ได้ยินอะไรอีก แต่อาการแบบนี้จะสามารถรักษาได้ โดยต้องรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์ปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้เส้นประสาทหูเสื่อม
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์@ น้ำในหูไม่เท่ากัน เกิดจากสาเหตุของท่อน้ำในหูชั้นในโป่งและแตก ซึ่งสาเหตุที่ท่อน้ำนี้โป่งขึ้น อาจมาจากการทานอาหารรสเค็ม มีการผลิตน้ำมากเกินไป หรือมีการดูดซึมของน้ำที่น้อย ทำให้ท่อโป่งและเมื่อโป่งมากๆ จะทำให้แตก ทำให้เกิดภาวะไม่เท่ากันของเกลือแร่ เมื่อไม่เท่ากัน เส้นประสาทหูจะรับการได้ยินที่ไม่ดีในที่สุด
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์โดยส่วนมากอาการที่เกิดจากน้ำในหูไม่เท่ากัน จะมีอาการวิงเวียนบ้านหมุนตามมาด้วย ซึ่งจะเกิดขึ้นประมาณ 20 นาทีหรือนานเป็นชั่วโมง อาการน้ำในหูไม่เท่ากันนั้นแตกต่างจากผู้ที่เกิดขึ้นตามวัย เพราะมันตกที่ความถี่ต่ำก่อน ผู้ป่วยอาจรู้สึกว่าเสียงในหูดังเป็นเสียงต่ำๆ ที่ความถี่ต่ำ และร่างกายจะซ่อมแซมในส่วนที่แตก ซึ่งเมื่อซ่อมแซมเสร็จแล้ว จะกลับมาได้ยินปกติ คนที่เป็นโรคนี้มักจะเดี๋ยวเป็นเดี๋ยวหาย สลับกัน
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์@ เนื้องอกของเส้นประสาท และมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไป และมักจะเกิดขึ้นเพียงข้างเดียว ถ้าใครที่รู้สึกว่าไม่ค่อยได้ยินและเป็นเพียงข้างเดียว ทั้งที่ไม่มีปัจจัยอื่นเกี่ยวข้องเลย ให้รีบพบแพทย์จะดีที่สุด เพราะทางการแพทย์จะมีวิธีตรวจว่าเป็นส่วนของเนื้องอกในสมอง หรือเส้นประสาทที่มันลึกเข้าไปหรือไม่
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์วิธีสังเกตตัวเองว่าหูเสื่อมหรือไม่
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์ถ้าใครที่รู้สึกผิดปกติในการได้ยิน หรือได้ยินลดลง ให้รีบพบแพทย์ โดยไปพบตั้งแต่รู้สึกว่าเริ่มมีอาการ อย่ารอให้เรื้อรัง เพราะการรักษาตั้งแต่ต้นจะช่วยให้รักษาได้ผลดีกว่าทิ้งไว้นานๆ
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์สำหรับกลุ่มเสี่ยงต่อการเป็นโรค ได้แก่
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์กลุ่มผู้สูงอายุ ที่เส้นประสาทเสื่อมตามวัย
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์กลุ่มคนทำงานในโรงงาน ซึ่งมีสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหลัก
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์กลุ่มคนที่ทำงานในสถานที่เที่ยวกลางคืน โดยสถานที่เหล่านี้มีความดังอยู่ที่ 100-120 เดซิเบล คนที่ทำงานในสถานที่ดังกล่าวจะต้องได้รับความดังที่เกินมาตรฐานต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานโดยเฉลี่ย 7 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ จึงจัดเป็นอีกหนึ่งกลุ่มเสี่ยง
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์กลุ่มผู้ใช้หูฟังเป็นประจำ คนกลุ่มนี้มักรู้สึกคุ้นชินกับการฟังเสียงที่ดัง และรู้สึกว่ามันไม่ดัง ซึ่งความจริงแล้วค่อนข้างดัง และส่งผลให้ประสาทหูเสื่อมได้เช่นกัน โดยในส่วนนี้จะเกิดจากพฤติกรรมของตนเอง
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์โดยทั่วไปแล้วผู้ที่มีเส้นประสาทหูปกติดี จะสามารถได้ยินเสียงที่ระดับ 25 เดซิเบล แต่ถ้าต้องใช้เสียงที่ดังมากกว่านี้จึงจะได้ยิน นั่นแสดงว่าเส้นประสาทหูเริ่มเสื่อม และหากต้องใช้ระดับเสียงที่ดังมากถึง 40 เดซิเบล จึงจะได้ยิน ถือเป็นผู้พิการที่ต้องใช้เครื่องช่วยฟัง ซึ่งเป็นเครื่องช่วยขยายเสียง.
หยุดพฤติกรรมเสี่ยงหูเสื่อมก่อนวัยเดลินิวส์很赞哦!(62)
相关文章
- ส่องวาร์ป 'หมอปิแอร์' หนุ่มหล่อเข้มที่ซบไหล่ 'ไก่ ภาษิต' ผู้ประกาศข่าวช่อง3 | เดลินิวส์
- TV & Entertainment – Page 614 of 614 – THE STANDARD
- เวียดนามตั้งประธานาธิบดีใหม่ เป็นคนที่ 4 ภายในเวลาเพียงสองปี | เดลินิวส์
- 'แม็ค วีรคณิศร์' คุกเข่าขอ 'วิว' เป็นคู่ชีวิต แฟนคลับเฮแห่ยินดี ชี้เกินคำว่าเหมาะสม! | เดลินิวส์
- ขยันจริงพี่มิจฯ ปล่อยมุกใหม่ 'แกล้งทักผิดในไลน์' ชวนคุยลวงเข้าเว็บลงทุน | เดลินิวส์
- โปรไทยพร้อมล่าแชมป์ที่ไทยคันทรีคลับ | เดลินิวส์
- ญาญ่า อุรัสยา ชีวิตรัก งานแสดง และโมเมนต์ประทับใจใน Chairs to Share EP.59
- 'วุ้นเส้น'เผยแพลนมีลูก-บอกปีนี้ไม่ทันต้องรอปีหน้า เชื่อสามี 'นิกม์' เป็นพ่อที่ดีได้! | เดลินิวส์
- สังคมโลก : ทำนาบนหลังคน | เดลินิวส์
- SMILE 2 (ยิ้มสยอง 2) | เดลินิวส์
热门文章
- ‘เจ็บป่วย’ตามอายุขัย ‘สัตว์เลี้ยงสูงวัย’ บั้นปลาย‘ช่วยตายดี’ | เดลินิวส์
- 'อ.พนัส' ชี้ข้อกฎหมาย 17 บอส 'ดิไอคอนกรุ๊ป' หลังศาลไม่ให้ประกันตัว เผย ยังเป็นผู้บริสุทธิ์ | เดลินิวส์
- เปิดทรัพย์สิน รองประธานวุฒิสภา "เกรียงไกร" อู่ฟู่ 87.3 ล้านบาท ปืน 3 กระบอก | เดลินิวส์
- “บางครั้งคุณก็แค่อยากจะหน้าสด ใส่ชุดนอนออกไปข้างนอก” LISA พูดถึงความเป็นส่วนตัวในฐานะศิลปิน
站长推荐
ดีลลับปล่อย “พยัคฆ์ติดปีก” | เดลินิวส์
แม่บ้านเซ็งสามี 2 นาทีเสร็จ | เดลินิวส์
‘จุรินทร์’ เตือนรัฐบาลอย่าอุ้ม ‘นิรโทษกรรม’ ให้เป็นหน้าที่สภาฯ | เดลินิวส์
"Life Of อีหล่า"แด่ทุกความฝันของลูกสาวและลูกชายทุกคนจาก"กอกี้ กวิสรา" | เดลินิวส์
ดีลลับปล่อย “พยัคฆ์ติดปีก” | เดลินิวส์
'กีตาร์'ตอบชัด 'ดาเรีย'อยู่ไทยหรือกลับโปแลนด์ เผยคำพูด 'อ๋อม'ที่ทำหลายคนน้ำตาไหล | เดลินิวส์
ได้เวลาล็อกคิว! เซอร์ไพรส์ประเทศไทยมี 'ไป๋ลู่'แล้ว เตรียมพบความพิเศษสุดๆ 1 พ.ย.นี้! | เดลินิวส์
ดูเลย! อาการปวดคอที่ไม่ควรมองข้าม สาเหตุมาจากมือถือพฤติกรรมประจำวัน | เดลินิวส์